ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้า

ชิปปิ้ง 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Logistics-Shippingyou ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้า 5                                                                 Logistics Shippingyou 768x402

ชิปปิ้งและโลจิสติกส์ คำสั้นๆ แต่มีความหมายครอบคลุมถึงระบบการจัดการขนส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

Shippingyou รวม 5 เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับชิปปิ้งและโลจิสติกส์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับทุกคนในการเตรียมพร้อมรับมือกับธุรกิจด้านนี้ที่กำลังเติบโตและจะไปได้อีกยาวไกลในอนาคตอย่างแน่นอน

1. ที่มาของคำว่า ‘โลจิสติกส์’ และความหมายของ ‘ชิปปิ้ง’

จุดเริ่มต้นของ Logistics มาจากคำว่า ‘Logos’ ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแปลความหมายได้หลากหลาย เช่น คำ, อัตราส่วน, การคำนวณ, เหตุผล, สุนทรพจน์ ในอดีต Logistics เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทหาร การลำเลียงเสบียง อาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนการรบ แต่ในปัจจุบัน Logistics พัฒนามาสู่รูปแบบการขนส่งเชิงพาณิชย์ หรือการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ข้ามเมือง ข้ามประเทศ ผ่านการขนส่งทางน้ำ อากาศ และทางบก โดยนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภครวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่คำว่า ชิปปิ้ง (Shipping) หมายถึงการขนส่งทางเรือและธุรกิจการขนส่งสินค้า หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงตัวแทน/ตัวกลางในการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตสินค้าไปสู่ผู้บริโภคนั่นเอง

2. ตำนานน่ารู้ของโลจิสติกส์

ว่ากันว่า เมื่อ 500 ปีก่อนพุทธกาล อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรกรีก ได้นำแนวคิดของระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนกำลังพลในการรบโดยสร้างสถานีเก็บเสบียงอาหารทหารและสัตว์ไว้ทุกๆ 30 กม. ตั้งแต่ตัวเมืองไปจนถึงแนวชายแดน เพื่อให้ทหารไม่ต้องแบกสัมภาระมากเกินไป อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง เช่นเดียวกับจักรพรรดินโปเลียนของฝรั่งเศส ที่วางแผนเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพสามารถเคลื่อนทัพได้เร็วกว่าศัตรู 

3. โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับศาสตร์ใด

ปัจจุบัน โลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในการเรียนเป็นอย่างมาก สถาบันการศึกษาหลายแห่งในเมืองไทยเปิดสอนแขนงวิชาโลจิสติกส์เพื่อผลิตบุคลากรสาขานี้ป้อนตลาดอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม โลจิสติกส์ เป็นการผสานศาสตร์แขนงต่างๆ ไว้รวมกัน 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และการจัดการสารสนเทศ โดยบัณฑิตด้านโลจิสติกส์สามารถทำงานได้หลายด้าน ทั้งฝ่ายปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ระดับบริหาร สามารถเป็นนักวิเคราะห์โลจิสติกส์ นักวางแผน นักวิเคราะห์กระบวนการธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้า-ส่งออก เป็นตัวแทนขนส่งสินค้า

4. แขนงวิชาของโลจิสติกส์ ต่างกันอย่างไร

แต่ละแขนงวิชาโลจิสติกส์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีความเกี่ยวพันกันอย่างเชื่อมโยง อาทิ วิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้การขนส่งสินค้าราบรื่น ใช้ทรัพยากร และระยะเวลาขนส่งน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แขนงวิชาบริหารธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารวัสดุและการขนส่งระหว่างประเทศ การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านโลจิสติกส์ เรื่อยไปจนถึงเรื่องภาษีและกฎหมาย สำหรับศาสตร์วิชาการจัดการสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ควบรวมเป็นบริการที่ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

5. ตลาดโลจิสติกส์ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

EEC (Eastern Economic Corridor) หรือโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ใหม่ในการลงทุน ซึ่งระยะแรกได้ยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี, ระยอง และฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีสนามบิน และท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับ 22 ของโลก โดยข้อมูลจาก EEC ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ต้องการบุคลากรสูงสุดคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเฉพาะความต้องการของแรงงานกลุ่มโลจิสติกส์ในพื้นที่ EEC นี้ จะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน สนใจศึกษาระบบการขนส่งระหว่างประเทศหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการ ชิปปิ้ง จากเมืองจีนมาไทยได้ทุกวันกับ Shippingyou

 

Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.