ชิปปิ้งจีน ยิ่งในยุคที่ Social Media ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าความนิยมนี้ไม่มีทางที่จะลดลงได้ง่ายๆ จึงกลายเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับใครหลายคน ที่กำลังมองหาช่องทางในการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง
โดยเฉพาะการขายของออนไลน์นั้น นับว่าเป็นอาชีพที่มีคนให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม เพราะการเริ่มต้นธุรกิจนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีสิ่งที่นักธุรกิจออนไลน์มือใหม่ควรรู้ โดยเฉพาะเรื่องของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เหตุผลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?
คำตอบคือเพื่อยืนยันการมีตัวตนของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งจุดนี้ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนจริงของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี เพราะชื่อของผู้ประกอบการทั้งหมด จะถูกรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลที่มีการเผยแพร่ได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยข้อมูลได้แยกตามประเภทธุรกิจ ทั้งนี้ผู้จดทะเบียนหรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วยังได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เรียกว่ามีข้อได้เปรียบเมื่อจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอกนิกส์นั่นเอง
สำหรับการจดทะเบียนดังกล่าวนั้น ถือเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง และนอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าสามารถตรวจสอบตัวตนของร้านค้าได้แล้ว ทะเบียนพาณิชย์ที่ว่านี้ ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าได้ในระดับหนึ่ง โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเป็นผู้จัดทำเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และจัดส่งเครื่องหมาย DBD Registered มอบให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้นำไปแสดงบนหน้าเว็บไซต์ตัวเองได้อย่างถูกต้อง เมื่อลูกค้าเห็นเครื่องหมาย DBD Registered จะช่วยสร้างความมั่นใจและมีโอกาสตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้มากกว่าร้านค้าที่ไม่มีเครื่องหมาย
ใครที่ควรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์?
Shippingyou รวบรวมข้อมูลผู้ที่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยที่ประกอบเป็นพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์ นั่นคือ
- ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ บุคลลที่มีเว็บไซต์ เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail มีการชำระเงินออฟไลน์หรือออนไลน์ เป็นต้น อาจครอบคลุมถึงเว็บไซต์ ร้านค้าใน e-Marketplace ร้านค้าใน Social Media ทั้งหมด เช่น Facebook Line เป็นต้น รวมไปถึงธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน หรือที่รู้จัก ‘ชิปปิ้งจีน’ ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
- บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
- ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
- ผู้ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Marketplace)
กรณีที่มีการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ/สินค้า/บริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (โดยไม่มีการซื้อและขายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
***หมายเหตุ : ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบพาณิชยกิจ
การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เอกสารอะไรในการจดทะเบียนบ้าง?
- คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ) ดาวน์โหลดคำขอได้ที่นี่
- สำเนาบัตรประจำตัว
- กรณีของบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
- กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
สำหรับค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่เพียง 50 บาท สามารถใช้ได้ตลอดชีพ
***หมายเหตุ : ในกรณีที่ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ มีโทษโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง (บทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499)
ภายหลังการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว สามารถติดต่อขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ ‘กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า’ โทร 02-547-5959 ถึง 60 โทรสาร 02-547-5973 หรือ e-mail : e-commerce@dbd.go.th หรือสมัครด้วยตัวเองที่ https://www.trustmarkthai.com/