ชิปปิ้ง 7 สิ่งน่ารู้ของ Euro Pallet สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ

ชิปปิ้ง 7 สิ่งน่ารู้ของ Euro Pallet Shippingyou ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 7 สิ่งน่ารู้ของ Euro Pallet สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ 7                                         Euro Pallet Shippingyou fb 768x402

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ทำไมจึงควรใช้พาเลทสำหรับวางเป็นฐานเพื่อรองรับน้ำหนักสินค้า ? มีผู้นำเข้าหลายคนที่สงสัยว่าจำเป็นหรือไม่ที่ควรเพิ่มเงินอีกเล็กน้อยกับการใช้พาเลทในการขนส่ง

ปัจจุบัน บริษัทชิปปิ้งมืออาชีพ มักจะแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้พาเลทในการวางรองรับน้ำหนักสินค้า เพื่อความปลอดภัยของสินค้า ป้องกันการกระแทก แตกหักหรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายในระหว่างการขนส่ง

อย่างไรก็ตาม พาเลทที่ใช้ในธุรกิจชิปปิ้งนั้นมีหลายประเภท ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น ทำจากไม้ พลาสติก โลหะ กระดาษแข็ง ฯลฯ พาเลท่อาจมีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของการผลิตพาเลทในแต่ละโซนทวีปด้วย

สำหรับบทความต่อไปนี้ Shippingyou จะขอพูดถึง 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพาเลทยูโร หรือ Euro Pallet ซึ่งเป็นพาเลทที่ได้มาตรฐานระดับสากลและมีเครื่องหมายรับรองจาก EPAL

1. Euro Pallet คืออะไร ?

Euro Pallet คือ แท่นวางสินค้าที่ใช้ในการขนส่งทางไกลเพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย และป้องกันสินค้าเสียหาย ในอดีต พาเลทมีจุดเริ่มต้นมาจากรางเลื่อนที่ทำจากไม้เพื่อใช้สำหรับวางสินค้าซ้อนกันเป็นแนวตั้ง และบางครั้งพาเลทก็มีล้ออยู่ใต้รางเลื่อน ภายหลังเมื่อรถยก (Forklift Trucks) ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1915 พาเลทจึงถูกปรับรูปแบบเพื่อให้สามารถใช้งานกับรถยกได้โดยการสอดงาเข้าไปใต้ช่องของพาเลท ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี 1925 พาเลทได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกโดย Howard T. Hallwell

2. พาเลทไม้

พาเลท ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากไม้ก่อนที่วัสดุประเภทอื่นจะตามมา โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในยุค 1960 ใช้สำหรับขนส่งทางรถไฟ เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ที่นิยมมากที่สุดคือ ไม้ยาง ไม้สน และไม้เบญจวรรณ ข้อดีคือรองรับน้ำหนักได้มาก นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ข้อเสียคือหากมีความชื้นอาจเกิดเชื้อราและแมลงต่างๆ เนื่องจากหาได้ง่าย  ที่นิยมได้แก่ ไม้ยาง ไม้สน และไม้เบญจวรรณ

3. ขนาดมาตรฐานของ Euro Pallet

ขนาดของ Euro Pallet จะอยู่ที่ 1200 x 800 x 144 มม. (มีขนาดบางกว่าของ UK Pallet) สามารถรองรับน้ำหนักที่ปลอดภัยได้ประมาณ 1,500 กก. ในขณะที่ UK Pallet ขนาดจะอยู่ที่ 1200 x 1000 มม. ส่วน Japan Pallet เป็นพาเลทที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิต ขนาดเท่ากับ 110x110x15 ซม. และ Standard Pallet เป็นขนาดมาตรฐานสากลที่นิยมใช้ทั่วโลก มีขนาด 100x120x12 ซม. ต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา

4. EPAL องค์กรที่ควบคุมมาตรฐานของ Euro Pallet

EPAL (ย่อมาจาก European Pallets Association) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทำหน้าที่ควบคุมมาตรฐานการผลิตของ Euro Pallet ที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมดในยุโรป โดยพาเลทที่มีเครื่องหมาย EPAL นั้น สามารถใช้ในการขนส่งได้ทั่วโลก การันตีเรื่องการขนส่งที่ราบรื่น และรับประกันความมั่นใจได้ว่าการบรรจุสินค้ากับพาเลทนั้นจะมีความแน่นหนา ปลอดภัยระดับสูง

5. Euro Pallet เป็น 1 ใน 6 ขนาดได้มาตรฐานจาก ISO 

ปัจจุบัน ISO ให้การยอมรับพาเลท 6 ขนาด โดยได้รับการรับรองว่าสามารถทำการชิปปิ้งหรือขนส่งระหว่างประเทศได้ กล่าวคือมีขนาดที่พอดีกับตู้คอนเทนเนอร์ อย่างไรก็ตาม ขนาดพาเลทมาตรฐานที่ ISO ให้การยอมรับนั้น จะมีการปรับให้เหมาะสมกับภูมิภาคต้นทาง เช่น เป็นขนาดที่ผ่านประตูที่พักอาศัยได้ มาดูกันว่า ขนาดพาเลทที่ ISO ยอมรับมีขนาดใดบ้าง

6 ขนาดพาเลท ISO shippingyou เว็บ ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 7 สิ่งน่ารู้ของ Euro Pallet สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ 6                             ISO shippingyou              1024x1024

6. Euro Pallet ยุคใหม่มีระบบติดตาม GPS ที่ถูกติดตั้งไว้บนพาเลท เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าบนพาเลทได้ตลอด 24 ชม. โดยปกติแล้วจะติดตั้ง GPS ไว้กับกล่องสินค้า หุ้มด้วยพลาสติกใสบนพาเลทอีกชั้น โดยระบบ GPS สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแอปของระบบโทรศัพท์ทั้ง iOS และแอนดรอยด์ ทำให้สามารถเช็คได้แบบเรียลไทม์

7. Euro Pallet นิยมใช้สำหรับการขนส่งทางรถบรรทุก จากอดีตที่ใช้ในการขนส่งทางรถไฟ ช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในขณะขนย้ายเนื่องจากปกติการขนย้ายจะใช้รถยกหรือที่เรียกว่า Forklift Trucks