ชิปปิ้งจีน ที่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการขนส่งมีความเติบโตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากต่างแดน ซึ่งการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมีอยู่ 3 ประเภท
ได้แก่ การนำเข้าสินค้าทางบก การนำเข้าสินค้าทางทะเล และการนำเข้าสินค้าทางอากาศ
การขนส่งทั้ง 3 ประเภทนี้ต่างมีข้อดีและความเหมาะสมในการขนส่งที่แตกต่างกันออกไป นอกจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งที่แตกต่างกันแล้ว มาดูกันว่าขั้นตอนการนำเข้าสินค้าของแต่ละประเภท จะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
1. การนำเข้าสินค้าทางบก (ทางรถ)
เริ่มจากผู้นำเข้าจัดหาบริษัทชิปปิ้งเป็นตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แล้วเดินพิธีการศุลกากร โดยยื่นเอกสารที่ใช้สำหรับการนำเข้าต่อศุลกากรด้วยระบบ E-Customs เมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบพิสูจน์เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่ทางกรมศุลกากรกำหนดเอาไว้ โดยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ(Green Line) และใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ(Red Line)
ขั้นตอนสุดท้ายผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงินที่ชำระเรียบร้อยแล้วให้กับคลังสินค้า สินค้าดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบหรือยกเว้นการตรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร จากนั้นจึงขนส่งสินค้าไปยังผู้รับโดยการขนส่งทางรถในประเทศไทย เมื่อผู้รับสินค้าได้รับของเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจขนส่งสินค้า
2. การนำเข้าสินค้าทางทะเล (ทางเรือ)
เริ่มต้นตั้งแต่โรงงานของผู้ผลิตหรือโกดังของผู้ส่งออกหลังจากผลิตและจัดเตรียมเอกสารการส่งออกสินค้าเรียบร้อยแล้ว จะทำการติดต่อบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าหรือสายการเดินเรือ เพื่อทำการจองระวางเรือขนส่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จากนั้นทำการขนส่งสินค้าจากสถานที่ส่งออกนั้นไปยังท่าเรือต้นทาง ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการจองแล้วดำเนินการผ่านพิธีทางศุลกากรขาออก
เมื่อสินค้ามาถึงที่ท่าเรือต้นทางแล้วจะทำการยกตู้สินค้าขึ้นเรือและออกใบตราส่งสินค้าให้กับผู้ส่งออก เพื่อยืนยันการได้รับสินค้า แล้วเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ส่งออก หลังจากเรือบรรทุกสินค้าเดินทางไปถึงท่าเรือปลายทางสายการเดินเรือจะยกตู้สินค้าลงจากเรือบรรทุก ผู้นำเข้าจะเป็นผู้ทำการติดต่อกับสายการเดินเรือนั้น เพื่อชำระค่าใช้จ่ายปลายทางพร้อมกับนำใบตราส่งสินค้า ที่ได้รับจาก Shipper นำไปเปลี่ยนเป็นใบตราส่งสินค้ากับสายการเดินเรือเพื่อใช้ในการนำสินค้าออก
ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้าและชำระภาษีอากรขาเข้า จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผู้นำเข้าจึงปล่อยสินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้า เตรียมขนส่งสินค้าไปยังสถานที่หรือโกดังและทำการตรวจสอบสภาพสินค้าและความเรียบร้อยก่อนเซ็นรับสินค้าก่อนทำการขนส่งไปยังผู้รับสินค้า
3. การนำเข้าสินค้าทางอากาศ (ทางเครื่องบิน)
เริ่มจากผู้นำเข้าจัดหาบริษัทชิปปิ้งเป็นตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแล้วส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับเดินพิธีการศุลกากรและศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องแล้วทำการตัดบัญชีใบขนสินค้าในระบบ Manifest (บัญชีสินค้าสำหรับอากาศยาน) จากนั้นศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าและผู้นำเข้าเป็นผู้ทำการชำระค่าภาษีอากร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด จากนั้นผู้นำเข้าจึงทำการติดต่อคลังสินค้าเพื่อรับของ เมื่อศุลกากรได้อัพเดทวันส่งมอบและปรับสถานะใบขนสินค้าเป็น ‘ส่งมอบแล้ว’ ผู้นำเข้าจึงนำสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรและทำการขนส่งต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยภาพรวมนั้นอาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดและเอกสารบางอย่าง ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าอาจจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในด้านเอกสารและขั้นตอนการนำเข้าต่างๆ หรือสามารถเลือกใช้บริการกับบริษัทชิปปิ้งที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเข้าสินค้า เพื่อความสะดวก รวดเร็วและลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดไปได้มาก อ่านต่อ 5 เทคนิค ในการเลือกใช้บริการโลจิสติกส์ที่ได้คุณภาพ
Shippingyou บริษัทชิปปิ้งจีนมืออาชีพ ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนครบวงจรทั้งทางรถและทางเรือ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์ มีระบบ Call Center ที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกวัน ตั้งแต่ 9.00-18.00 น.