ชิปปิ้ง ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางเรือ ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถบรรจุสินค้าได้ในปริมาณมากและมีค่าใช้จ่ายที่ค่อยข้างถูกกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ
โดยเฉพาะหลังจากที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้การขนส่งสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ก่อนที่อุตสาหกรรมขนส่งจะเฟื่องฟูเช่นในปัจจุบันนี้ การขนส่งทางทะเลได้มีการพัฒนาและปรับปรุงมาหลายยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 Malcolm McLean ได้พัฒนาภาชนะบรรจุสินค้าที่มีแนวคิด Big Box ซึ่งดัดแปลงมาจากตู้บรรทุกสินค้าของรถไฟเพื่อจุดประสงค์ในการขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ โดย McLean กู้เงินธนาคารเป็นจำนวนเงิน 22 ล้านดอลลาร์และในเดือนมกราคม 1956 ได้ซื้อเรือบรรทุกน้ำมันจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาดัดแปลงเป็นเรือขนส่งที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ไว้ด้านบนและใต้ดาดฟ้าเรือ เรียกว่า SS Ideal-X ซึ่งสามารถขนส่งกล่องบรรจุโลหะขนาด 35 ฟุต จำนวน 58 ชิ้นและปิโตรเลียม 15,000 ตันจากท่าเรือนวร์ก (Newark) รัฐนิวเจอร์ซีย์ ไปยังเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัสได้สำเร็จ โดยใช้เวลาโหลดสินค้าจาก 3 วัน เหลือ เพียง 8 ชั่วโมง
ต่อมาสายการเดินเรือ Matson Line ที่แต่เดิมจะปฏิบัติการอยู่แถบฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาไปจนถึงฮาวาย เจ้าของเรือเดินสินค้า Matson Line Hawaiian ได้สร้างเรือเดินสินค้า C-3 Class ขึ้นตั้งแต่ปี 1945 ได้เข้าจอดเทียบท่าในซานฟรานซิสโกเมื่อวัน 31 สิงหาคม 1958 และได้มุ่งหน้าไปยังฮาโนลูลู (Hanolulu) อีกทั้ง Matson Line Hawaiian ยังได้เปิดให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ครั้งแรกในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์กว่า 20 ตู้ ในขณะที่ชั้นล่างของเรือยังคงขนส่งสินค้าธรรมดาได้ อีก 6 วันต่อมา เรือขนส่ง Hawaiian ได้เข้าเทียบท่าที่ ฮาโนลูลู (Hanolulu) และตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดถูกโหลดขึ้นบนรางรถไฟ (Flat Cars) และดึงออกจากท่าเรือด้วยรถหัวจักรดีเซลขนาดเล็ก
ในปี 1960 ได้มีการติดตั้งปั้นจั่นในลอสแองเจอลิสและฮาโนลูลู จากนั้น Matson ได้เริ่มดัดแปลงเรือบรรทุกสินค้า C-3 โดยใช้ชื่อว่า Hawaiian Citizen ให้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ซ้อนกันสูง 6 ชั้นและอีก 6 แถวเรียงหน้ากระดานบนดาดฟ้าเรือและในปี 1961 ได้เกิดองค์การมาตรฐานสากล เนื่องจากขนาดคอนเทนเนอร์จำเป็นต้องได้มาตรฐาน เพื่อให้สามารถวางซ้อนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรฐานนี้อนุญาตให้เรือรถไฟ รถบรรทุกและเครน สามารถสร้างหรือติดตั้งที่ท่าเรือได้ตามขนาดที่กำหนด
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน The International Organization for Standardisation (ISO) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ในปีในปี 1961 ซึ่งปัจจุบันได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่งระหว่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการออกระเบียบในปี 1972 โดยองค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล (Inter Governmental Maritime Consultative Organization: IMCO) ในด้านการจัดการอย่างปลอดภัยและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งภายใต้ข้อบังคับนี้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องมีฉลาก CSC Plate (Container Safety Convention) โดยจะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่ถูกต้อง คือ การตรวจสอบภาชนะบรรจุก่อนและหลังการบรรจุ เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยและพร้อมสำหรับการขนส่ง อ่านบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ ไขความลับ…เรือขนาดใหญ่เหมาะกับท่าเรือหรือไม่
Shippingyou บริษัทชิปปิ้งสินค้าจากจีน ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว สามารถติดตามการขนส่งได้ผ่านเว็บไซต์ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระบบ Call Center ที่ให้บริการทุกวัน ด้วยมาตรฐานการขนส่งที่เป็นสากลและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้ามาอย่างยาวนาน
ที่มา: tigercontainers/Marc Levinson