ชิปปิ้ง 7 เทรนด์โลกยุคใหม่หลังจบ Covid-19

ชิปปิ้ง 7 เทรนด์โลกยุคใหม่หลังจบ Covid-19-Shippingyou ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 7 เทรนด์โลกยุคใหม่หลังจบ Covid-19                       7                                                                    Covid 19 Shippingyou 768x402

ชิปปิ้ง แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วพอสมควรและเข้าสู่ยุดจิทัลมากขึ้น

แต่สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั้นเปรียบเสมือนตัวเร่งให้โลกในอีก 10 ปีข้างหน้า กลายเป็น New Normal ที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้   

       นอกจากนี้ยังเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Economy ในหลายธุรกิจ อาทิ ธุรกิจออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ อีคอมเมิร์ซที่เติบโตพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งธุรกิจขนส่งที่เติบโตขึ้นตามความนิยมในการช็อปปิ้งออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น Shippingyou ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน แม้ว่าหลายธุรกิจจะหยุดชะงักลงแต่สินค้าจากจีนยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและหลายธุรกิจยังสามารถนำเข้ามาขายได้ดี จึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่เป็นดาวรุ่งในช่วงวิกฤตนี้

        วันนี้ Shippingyou จึงได้รวบรวมข้อสรุป 7 เทรนด์ธุรกิจหลังจบโควิด-19 จาก Ipsos บริษัทสำรวจและวิจัยตลาดจากฝรั่งเศส ในงานวิจัยหัวข้อ Socio-economic trends that will strengthen and shape the future world ไว้ดังนี้

       1. ธุรกิจดึงฐานการผลิตกลับประเทศ ( Reshoring of Supply Chains )

        เดิมภาคการผลิตนั้นมักจะมองหาแหล่งผลิตที่มีค่าแรงถูกอย่างประเทศจีน แต่เมื่อจีนประสบปัญหาโรคระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานถูกตัดขาด รวมทั้งเทคโนโลยีทันสมัยที่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้มีต้นทุนค่าแรงต่ำลงและราคาสินค้าไม่ต่างกันมากนัก จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฐานการผลิตที่มีต้นทุนแรงงานต่ำอีกต่อไป กอปรกับการต่อรองทางการค้าที่มากขึ้น จากการที่แต่ละประเทศต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักจึงอาจเกิดภาวะชะลอตัว 

        2. การลงทุนด้านเทคโนโลยีในภาคแรงงานเพิ่มสูงขึ้น (Increasingly Distributed Workforce ) 

         บริษัทต่างๆ จะหันมาลงทุนเทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ทำให้การใช้พื้นที่สำนักงานเปลี่ยนรูปแบบจากพื้นที่การทำงานส่วนตัวมาเป็นพื้นที่ทำงานส่วนรวม (Common Spaces) พื้นที่ออฟฟิศจะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประชุมมากกว่าพื้นที่ทำงานส่วนบุคคล  ซึ่งอาจส่งผลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานลดลงและเป็นการเช่าพื้นที่ระยะสั้น ส่งผลให้ราคาที่ดินในตัวเมืองและรอบเมืองปรับตัวช้าลง นอกจากนี้จะมีการจ้างงานข้ามประเทศมากขึ้น ผู้ที่มีศักยภาพจะเป็นผู้ที่ได้รับการจ้างงานจากทั่วโลกและผู้ที่ไม่มีทักษะจะถูกทิ้งห่างออกไป

        3. จากทำงานตามเวลาเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบจ็อบ (Shift from Time-based to Task-based Compensation)

        เดิมรูปแบบการทำงานจะแบ่งตามหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือเวลางานทั่วๆไป แต่การทำงานแบบ Work from Home ในช่วงโควิด-19 จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าพนักงานทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่ การทำงานจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็น Task-based หรือการทำงานเป็นจ็อบ ดังนั้นการทำงานจึงเลือกตามทักษะที่ถนัดไม่ใช่การทำงานตามตำแหน่ง  ดังนั้นรูปแบบการจ้างงานหลังจากนี้จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ไม่จำเป็นต้องจ้างเป็นรายเดือน (Full Time) ซึ่งทำให้ความมั่นคงด้านการเงินแบบทำงานเต็มเวลาอาจลดลง แต่ในขณะเดียวกันหากมีความสามารถก็สามารถรับงานได้หลายบริษัท นอกจากนี้ด้วยพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปซึ่งส่งผลต่อลักษณะอาชีพในอนาคตอีกด้วย อ่านต่อ พฤติกรรมการช็อปปิ้งที่เปลี่ยนไป ในวิกฤต COVID-19

        4. ตำแหน่งงานระดับกลางถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี ( Hollowing Out of Middle-level Jobs)

        ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงาน ซึ่งมีแนวโน้มเป็นรูปแบบจ้างเป็นครั้งคราว หรือ Gig Economy มากขึ้น ตำแหน่งงานระดับกลางจึงไม่มีความจำเป็นเหมือนในอดีต เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ ดังนั้นตำแหน่งงานที่ไม่มีทักษะและระดับกลางจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสถูกเลิกจ้างได้  ส่วนกลุ่มที่มีทักษะสูงจะมีรายได้มากขึ้นและหางานใหม่ได้ง่ายกว่าทักษะระดับกลาง

         5. สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวรับการทำงานรูปแบบใหม่ (Decline of Institutional Education)

        นอกจากรูปแบบการจ้างการที่เปลี่ยนไปตามทักษะแล้ว การทำงานรูปแบบ Gig Economy  ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา ทั้งด้านการเรียนวิชาชีพไปสู่ทักษะตลาดแรงงานต้องการ ตลอดจนการเรียนออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในสถาบันการศึกษาเท่านั้น

         6. ธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคม (Reshaping of Business Responsibilities)

         จากการสำรวจผู้บริโภค 77% เห็นว่าธุรกิจต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น เนื่องจากรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดช่องว่างทางรายได้ของคนในสังคมมากขึ้น  ดังนั้นจะต้องมีรูปแบบการเก็บภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย และธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพื่อช่วยสร้างความเท่าเทียมของคนแต่ละกลุ่ม  

         7. ปรับเปลี่ยนนโยบายดูแลสังคม (Re-engineering of Social Safety Nets)

         ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้คนวิตกกับเรื่องงานและรายได้มากกว่าเรื่องสุขภาพ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม นโยบายของรัฐอาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเก็บเงินประกันสังคมต่างๆ ใหม่ เพื่อให้ทุกกลุ่มมีหลักประกันในการใช้ชีวิตเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต  เช่นเดียวกับธนาคาร ที่ต้องปรับวิธีการปล่อยเงินกู้ให้กลุ่มฟรีแลนซ์ เพื่อให้เข้าถึงเงินทุนในการประกอบอาชีพและมีโอกาสรอดจากวิกฤตต่างๆ 

         โลกยุคหลังโควิด-19 อาจเรียกได้ว่าจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนานวัตกรรมและปรับตัวอย่างรวดเร็ว หากผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ ก็จะมีความได้เปรียบมากกว่า โดยเฉพาะการให้บริการโมเดลใหม่ อาทิ บริการออนไลน์ เดลิเวอรี่ ชิปปิ้งหรือการขนส่งที่สามารถรองรับความต้องการผู้บริโภคได้

ที่มา: brandbuffet.in.th