ชิปปิ้ง ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาที่ประเทศไทย (ทางบก)

ชิปปิ้ง ขนส่งทางบก Shippingyou(2) ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาที่ประเทศไทย (ทางบก)                                Shippingyou2 768x402

ชิปปิ้ง สำหรับปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ที่เลือกใช้บริการนำเข้าสินค้า (Import) จากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของชำร่วย อะไหล่ยนต์ สินค้าไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นที่นิยมในการสั่งซื้อปริมาณมากๆ เนื่องจากยิ่งสั่งซื้อมาก ก็ยิ่งได้ราคาที่ถูกลง ประหยัดต้นทุน และได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ

ถึงอย่างนั้น สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการนำเข้าสินค้า ควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการค้นหาข้อมูลต่างๆ อาทิ การหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หาข้อมูลเรื่องภาษีนำเข้าสินค้า การติดต่อกับผู้จำหน่ายในต่างประเทศ รวมไปถึงการติดต่อกับบริษัทชิปปิ้งเพื่อดำเนินการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในการโดนยึดสินค้า เสี่ยงถูกสรรพากรเรียกดูเอกสารย้อนหลัง ฯลฯ

Shippingyou เป็นผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยแบบ One-Stop Service เราดำเนินการนำเข้าสินค้าแบบถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยประหยัดต้นทุนนำเข้าด้วยเรทค่าขนส่งเพียงกิโลกรัมละ 29 บาทเท่านั้น ที่สำคัญเอกสารทุกใบในการนำเข้าเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด จึงเป็นหลักฐานในการยื่นต่อกรมสรรพากรได้อย่างปลอดภัย หายห่วง 

วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำมาเล่าสู่กันฟัง เริ่มตั้งแต่…

1.ติดต่อกับโรงงานผู้ขาย

จุดแรกของขั้นตอนขนส่งสินค้า ต้องเริ่มจากผู้ขายหรือผู้ผลิตเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่แล้วเรียกว่า ‘โรงงาน’ หรือผู้จำหน่าย (Shipper) โดยหน้าที่ของ Shipper คือการคุยกับลูกค้าเพื่อประสานงานและดำเนินการจัดการเรื่องสินค้า จากนั้น จึงหาบริษัทชิปปิ้งที่สามารถดำเนินการจัดการเรื่องเอกสารและการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามระบบและกฎของศุลกากร

2.ทำพิธีการศุลกากรขาออก

ขั้นตอนนี้ทางผู้จำหน่าย (Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ที่ได้จัดจ้างเอาไว้จะแสดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ว่ามีสินค้าอะไรที่กำลังจะนำออกจากประเทศนั้นๆ โดยปกติ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาไม่นานนัก หากไม่พบปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไขเพิ่มเติม

3.จัดเตรียมเอกสารสำหรับการนำเข้า

แน่นอนว่าต้องมีการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อนถึงจะสามารถเบิกของได้ ซึ่งพิธีการศุลกากรนี้ใช้ระบบดิจิตอลทั้งหมด ทั้งการบันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรมเพื่อส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร แน่นอนว่าสามารถทำได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านบริษัทชิปปิ้ง (หรือเรียกว่าผู้นำเข้า) เอกสารที่จำเป็นต้องยื่นนั้นคือใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งข้อมูลที่ต้องบันทึกลงระบบ ประกอบด้วย

  • ข้อมูลยานพาหนะนำเข้า ไม่ว่าจะเป็น รถ เรือ หรือ เครื่องบิน
  • ใบตราส่งสินค้า
  • บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
  • บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
  • เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
  • ใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่นๆ ในกรณีสินค้านำเข้าเป็นข้อจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • กรณีที่สินค้าเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้ ควรมีเอกสารการรับรองวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารที่แสดงรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารเรื่องข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาแปลงเป็นใบขนสินค้าอัตโนมัติ บันทึกลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรทางออนไลน์หรือทางอินเตอร์เน็ตนั้นเอง

4.เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

หากศุลกากรได้รับข้อมูลที่บันทึกในระบบเป็นที่เรียบร้อย จะมีการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้า ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้า ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการตรวจสอบข้อมูลจุดใดจุดหนึ่ง ทางศุลกากรจะแจ้งกลับมายังผู้นำเข้าเพื่อทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และส่งข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขใหม่กลับไปที่ศุลกากรอีกครั้ง ขั้นตอนนี้เองสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง หากข้อมูลนั้นยังผิดพลาดอยู่ แต่เมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

5.ตรวจสอบพิสูจน์ตามเงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า

ขั้นตอนนี้เองที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบพิสูจน์เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่ทางกรมศุลกากรกำหนดเอาไว้ โดยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) โดยสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและสามารถวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าจะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของที่นำเข้านั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสินค้าแบบ Green Line

แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้นำเข้าสามารถชำระภาษีได้ 3 วิธี คือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร และ กรมศุลกากร

6.การตรวจสอบและการปล่อยสินค้า

เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อตรวจสอบและปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร ดังนั้น ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงินที่ชำระเรียบร้อยแล้วให้กับคลังสินค้า ขั้นตอนนี้เองข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง สินค้าดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบหรือยกเว้นการตรวจ ในกรณีเป็นใบขนสินค้ายกเว้นการตรวจ (Green Line) ใบขนสินค้าประเภทนี้จะใช้เวลาตรวจสอบน้อยมาก หากเป็นกรณีสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการขนส่งทางบก จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

7.การขนส่งไปยังผู้รับ

เมื่อสินค้าได้ตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะขนไปยังผู้รับ โดยการขนส่งทางรถในประเทศไทย จะมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ารถกระบะด้วย และในช่วงที่การจราจรคับคั่งจะเป็นช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง และเมื่อผู้รับสินค้าได้รับของเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจขนส่งสินค้า

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ควรเลือกบริษัทชิปปิ้งที่เป็นมืออาชีพ เชื่อถือได้ และมีชั่วโมงบินสูงหรือมีประสบการณ์การนำเข้าสินค้า อาทิ Shippingyou ที่ได้รับความไว้วางใจในการนำเข้าสินค้าจากจีนมายาวนาน จึงเป็นที่เชื่อมั่นในการนำเข้าสินค้าให้กับบริษัทต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ

ล้อมกรอบ

สำหรับเอกสารที่ต้องจัดเตรียมในขั้นตอนการนำเข้าสินค้านั้น ประกอบด้วย

  1. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ
  2. รายละเอียดข้อมูลใบขนส่งสินค้าขาเขา
  3. สำเนาใบตราส่งสินค้า
  4. สำเนาบัญชีราคาสินค้า
  5. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (ถ้ามี)
  6. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (ถ้ามี)
  7. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี)
  8. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
  9. เอกสารที่จะเป็นอื่นๆ เช่น แคตตาล็อก คุณสมบัติ การใช้งานสินค้า เอกสารแสดงส่วนประกอบ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนคือ สินค้าที่ไม่สามารถนำเข้าประเทศได้ หมายถึง ของต้องห้าม หรือ ของต้องกำกัด ตามที่ศุลกากรกำหนด มีอะไรบ้างนั้น สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่นี่