ชิปปิ้ง ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-Commerce (ธุรกิจ E-Commerce หรือย่อมาจาก Electronic Commerce ซึ่งหมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของธุรกิจ E-Commerce เช่น การซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินออนไลน์ การโฆษณาสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจของร้านค้าหรือองค์กร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดองค์ประกอบทางธุรกิจลง ทำให้ลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้ Shippingyou ผู้ให้บริการชิปปิ้งหรือนำเข้าสินค้าจากจีน มีข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของธุรกิจ E-Commerce มาฝากผู้ประกอบการ ดังนี้
ข้อดีของการทำธุรกิจแบบระบบ E-Commerce
- ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
- เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
- สามารถเปิดดำเนินการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ตัดปัญหาเรื่องการเดินทาง
- สะดวกต่อการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
- เป็นการเปิดโอกาสทางการค้าไร้พรมแดนได้ทั่วโลก
- สนองความต้องการทางการตลาด และยังขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว
- เก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อทำการตลาด
- สามารถปรับปรุงและดำเนินการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ตลอดเวลา
- ช่วยสร้างผลกำไรให้กับองค์กร
- ตามทันสื่อการตลาดยุคใหม่ สร้างผลกำไร เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้
- สามารถเสนอข้อมูลสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และยังสื่อสารกับลูกค้าในลักษณะของ Interactive Market (การตลาดแบบโต้ตอบ)
ข้อเสียของการทำธุรกิจแบบระบบ E-Commerce
- จำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
- จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการเรื่องภาษีต้องมีความชัดเจน
- ต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต
สำหรับธุรกิจ E-Commerce สามารถแบ่งรูปแบบทางธุรกิจออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ เป็นการทำธุรกิจระหว่างคนทำธุรกิจด้วยกัน โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ในฐานะของลูกค้า อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าจากธุรกิจอื่น ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปบริโภคเอง แต่เป็นการนำสินค้าที่หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นนำไปต่อยอดหรือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของตัวเอง ความหมายคือ ธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจแบบต่อยอด
- ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Consumer : B2C) หมายถึง ธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคทั่วไป ธุรกิจประเภทนี้เป็นที่คุ้นเคยกันดี เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง ธุรกิจแบบ B2C จะตัดตัวกลางอย่าง ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย ค้าส่ง และปลีกออกหมด เพื่อทำกำไรเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถจำหน่ายสินค้าได้ถูกลง เพราะไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไรให้กับพ่อค้าคนกลาง เช่น ธุรกิจชิปปิ้ง เป็นต้น
- ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึง การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ เป็นการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารจัดการที่ดีของรัฐบาล นิยมใช้กันมากในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือเรียกอีกชื่อว่า E-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ทางรัฐบาลจะทำการซื้อหรือจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การรายงานผลประกอบการประจำปี การสืบค้นเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com และ ระบบ EDI ในพิธีการกรมศุลกากร www.customs.go.th ธุรกิจประเภทนี้ช่วยสนับสนุนให้การติดต่อกับหน่วยงานรัฐ และการดำเนินการตามกฎระเบียบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ รวมทั้งยังสามารถก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ ช่วยและปรับปรุงองค์กรเอกชนให้ดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ ทั้งยังสามารดำเนินการให้บริการองค์กรเอกชนได้ทุกแห่งและทุกเวลา
- ลูกค้ากับลูกค้า หรือ ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึง เป็นรูปแบบธุรกิจรายย่อยระหว่างลูกค้าที่ซื้อขายกันเอง สิ่งที่โดดเด่นสำหรับธุรกิจประเภทนี้คือ แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตัวเองได้ แต่ปริมาณสินค้านั้นยังมีน้อยอยู่ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนทำ E-Business วัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจประเภทนี้ คือ เพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน หรืออาจแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นต้น