ชิปปิ้ง แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์ Covid-19 ในบางประเทศจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการระบาดอีกระลอก
รวมทั้งในอีกหลายประเทศที่ยังมีผู้ป่วย Covid-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศอิตาลีที่ยังมีการระบาดที่รุนแรง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะต้องได้รับการรักษาอย่างเข้มข้นและยาวนาน จึงทำให้เตียงพยาบาลไม่เพียงพอในหลายสัปดาห์
บริษัทออกแบบของอิตาลี จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) ในการสร้างหอผู้ป่วยหนักทางศัลยกรรม (ICUs) เพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Coronavirus ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก หลังพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในห้อง ICU มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า
Carlo Ratti Associati และ MIT Senseable City Lab บริษัทนวัตกรรมและการออกแบบที่ตรวจสอบผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิตอล จึงได้ริเริ่มวิธีการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วยการสร้างห้อง ICUs ในตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งสินค้า หรือที่เรียกว่า CURA (Connected Units for Respiratory Ailments)
CURA ถูกออกแบบให้เป็นห้อง Negative Pressure Room สำหรับใช้เป็นห้องพักสำหรับผู้ติดเชื้อ อาทิ Ebola, Sars และ Covid-19 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันในโรงพยาบาลและห้องแล็ปทั่วไปตามมาตรฐาน Airborne Infection Isolation Rooms (AIIRs) โดยได้ร่วมมือกับบริษัทวิศวกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเออร์อุปกรณ์การแพทย์
โครงสร้างของ CURA นั้นถูกสร้างขึ้นจากตู้คอนเทรนเนอร์ขนาดยาว 6.05 กว้าง 2.44 เมตร และสูง 2.59 เมตร ถูกออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกและรีโนเวทได้อย่างรวดเร็วเพื่อพร้อมใช้งานได้ทันที โดยลักษณะภายในของ CURA นั้น คล้ายกับเต็นท์พยาบาล แต่ปลอดภัยเหมือนรักษาตัวในโรงพยาบาล อีกทั้งสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสได้ (Biocontainment with Negative Pressure)
อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกใช้ในระบบขนส่งมาอย่างยาวนาน ทั้งด้านโลจิสติกส์และชิปปิ้ง (เรือขนส่งสินค้าในอดีต มีที่มาจากไหนกัน) โดยจุดเด่นของตู้คือสามารถถอดประกอบได้อย่างรวดเร็ว กอปรกับสามารถเคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ง่าย ทั้งทางถนน ทางรถไฟและทางเรือ ก่อนหน้านี้ จึงมีผู้นำเอาตู้คอนเทนเนอร์มาดัดแปลงใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็นคาเฟ่ร้านกาแฟ ห้องสมุด ห้องพัก ห้องนอน รวมทั้งโปรเจคล่าสุดคือโรงพยาบาล CURA
CURA ถูกสร้างขึ้นด้วยตู้คอนเทนเนอร์เก่า ที่นำกลับมาใช้ใหม่ โดยแต่ละยูนิตสามารถใส่อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อทำเป็นห้องรักษาหรือห้องพักต่างๆได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับยูนิตอื่นเพื่อทำเป็นยูนิตที่ใหญ่ขึ้นได้ด้วย ทั้งนี้ สามารถวางยูนิตต่อเพิ่มออกมาจากโรงพยาบาลเดิมในพื้นที่โล่งอย่างที่จอดรถและสวนหรือวางยูนิตแยกออกมาในสนามของโรงพยาบาลเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง CURA ยูนิตต้นแบบถูกสร้างและติดตั้งครั้งแรกที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ Covid-19 ค่อนข้างสูงในช่วงแรก
นอกจากนี้ แนวคิดในการสร้าง CURA นั้น เป็นโปรเจกต์ที่ไม่แสวงผลกำไรและเปิดโอกาสให้สามารถนำไอเดียดังกล่าวไปใช้ในการรับมือกับสถานการณ์ Covid-19 ได้ทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นแนวทางใหม่ที่น่าสนใจและช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาใหม่ได้อีกเท่าตัว
ที่มา: baania.com/weforum.org