Shippingจีน ในปี 2016 อาลีบาบา ธุรกิจอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนเข้าเทคโอเวอร์ Lazada ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศอาเซียน
คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ทำให้ลาซาด้าภายใต้การบริหารของอาลีบาบาเริ่มมีบทบาทสำคัญในตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย และเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
นอกจากนี้กลุ่มอาลีบาบา ยังมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Aliexpress Taobao Tmall และ 1688 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าออนไลน์จากประเทศจีนได้โดยตรงและมีราคาถูกกว่าซื้อจากร้านค้าปลีกในประเทศไทย โดยนิยมนำเข้าผ่านชิปปิ้งอาทิ Shippingyou ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนถึงไทยครบวงจร พร้อมจัดส่งทั่วประเทสไทย ซึ่งทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยนิยมสั่งซื้อออนไลน์มากยิ่งขึ้น
ภายใต้การแข่งขันของธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่างชาติในปัจจุบันที่แข่งขันกันในสงครามราคา เพื่อหวังเป็นเจ้าตลาดรายเดียวในไทย ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทย หากจะอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันของทุนยักษ์ใหญ่ได้ จำเป็นต้องมีการปรับกลยุทธ์ใหม่ โดย ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ CEO and Founder Tarad Dot Com Group และอดีตนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยได้แนะนำว่า ต้องมีแผนการรับมือ ซึ่งประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ โดยได้กล่าวไว้ภายในงานสัมมนา ‘รู้ลึก ก้าวล้ำ นำตลาดออนไลน์’ ที่จัดโดยธนาคารกรุงเทพ ดังนี้
1. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก (Branding) โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและให้แบรนด์เป็นที่จดจำ เริ่มจากตั้งเป้าหมายของธุรกิจ ความชัดเจนของแบรนด์ และจุดยืนที่สำคัญที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ พร้อมทั้งกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน มีความแตกต่างและเอกลักษณ์เฉพาะที่จะนำไปสู่การสื่อสารได้ตรงกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากต่างชาติได้
2. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ (Efficiency) เป็นการใช้คนจำนวนเท่าเดิม แต่ทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำเทคโนโลยีและโซลูชันมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ซึ่งในปัจจุบันโลกออนไลน์มีเครื่องมือทางธุรกิจที่สามารถนำมาใช้ฟรีได้มากมาย อาทิ โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม โปรแกรมทำบัญชี การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า การจัดการด้านการขนส่ง ฯลฯ โดยซอฟต์แวร์เหล่านี้จะช่วยให้การบริหารจัดการเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องง่าย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. เพิ่มช่องทางการขาย (Channel) ปัจจุบันมีช่องทางการขายที่หลากหลาย ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องใช้ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง แต่ควรนำมาปรับใช้ทุกช่องทาง ทั้งในอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศใน CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ที่นับว่าสินค้าไทยมีศักยภาพมากและเป็นที่ยอมรับไม่น้อย
4. ขายในต่างประเทศ (Cross Border e-Commerce) ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ อาทิ ขายสินค้าใน Amazon, Alibaba หรือ eBay ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้มีแพลตฟอร์มภาษาไทย จึงหมายความว่าการบุกตลาดโลกไม่ได้ยากอย่างที่คิด โดยเฉพาะสินค้าไทยที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคต่างชาติ
5. ทีมงาน (Team) บุคลากรที่มีความสามารถเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจได้อย่างตรงจุด ดังนั้นการใช้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาให้ชัดเจน เพื่อให้การค้าออนไลน์มีประสิทธิภาพและธุรกิจเติบโตมากขึ้น
6. ผู้ประกอบการ (You) ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจออนไลน์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำธุรกิจ ตลอดจนรู้เท่าทันในเทรนด์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เห็นช่องทางใหม่ๆ สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้ รู้จักนำเครื่องมือสมัยใหม่มาปรับใช้ และสามารถบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้งทีมงานให้ดำเนินงานตามเป้าหมายให้บรรลุผล
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการออนไลน์ในไทยจำเป็นต้องศึกษาและปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงและการรุกตลาดไทยของธุรกิจต่างชาติ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักผสานทั้งช่องทางอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ ตลอดจนการพัฒนากลยุทธ์ออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายมากยิ่งขึ้น รุกตลาด Shippingจีน อ่านต่อที่ 15 อันดับเว็บไซต์จีนยอดนิยม ยอดคลิกติดอันดับโลก
ที่มา: bangkokbanksme